หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี

แชร์บทความ

หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี ประวัติของหลวงพ่อสุ่นไม่เป็นที่กระจ่างนัก เล่ากันว่าท่านชื่อ สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ เป็นชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.2435 บวชแล้วได้ฉายาว่า จันทโชติ แปลว่า รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์

อุปสมบท

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษาต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา ย้อนไปเมื่อครั้งที่หลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำโดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมานจนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะเข้าไปปลุกเสกในอุโบสถ จนครบกระบวนการ จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์และผู้ถวายปัจจัยในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งนอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจากงาช้างด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูง

บั้นปลายชีวิต

เมื่อราว พ.ศ.2481- 2482 หลวงพ่อสุ่นมรณภาพ สิริอายุประมาณ 78 ปี ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ พ.ศ.2489 หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง

ติดต่อลงประกาศข้อมูลพระเครื่อง

บทความเพิ่มเติม