นามเดิม แจ้ง เดิมจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ ต่อมาพระแจ้งสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระมหาแจ้งวัดสระเกศเป็นพระธรรมกิตติและให้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดรังษีสุทธาวาส
พระธรรมกิติ (แจ้ง) ผู้สร้างพระผงวัดรังษีสุทธาวาส พระธรรมกิติ (แจ้ง) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดรังษีสุทธาวาส ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังยุคเดียวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า พระธรรมกิติ (แจ้ง) มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาสเมื่อไร (มีการสันนิฏฐานว่า พ.ศ. 2439) และมรณภาพเมื่อไร แต่จากเอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวเนี่องกับการโปรดเกล้าฯ ให้วัดรังษีสุทธาวาสมาขึ้นกับวัดบวรนิเวศวิหารในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยเมื่อ พ.ศ. 2442 พระธรรมกิติ (แจ้ง) ก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาสอยู่แล้ว
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม* ห้องที่ 165 – 167 รวมโคลง 84 บท เนื้อความตั้งแต่พระรามให้ทำขวัญพระมงกุฎและพระลบจนถึงพระรามเสด็จประพาสป่า
2. เรื่องลิลิตมหาชาติ กัณฑ์มหาพน
3. โคลงพิพิธพากย์ โคลงที่ว่าด้วยความเลินเล่อ จำนวน 16 บท
4. มหาโควินทรสูตร